Waste Collection Service

รับบำบัด กำจัด กากอุตสาหกรรม แบบครบวงจร (one stop service)

ให้บริการแบบครบวงจรในการจัดการกากอุตสาหกรรม รวมถึงการบำบัดและกำจัด ปลอดภัยและได้มาตรฐานโดยผู้รับดำเนินการอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย

Empowering Your Sustainable Environment

กากอุตสาหกรรมคืออะไร

กากอุตสาหกรรม คือ วัสดุหรือสิ่งใดๆที่โรงงานผู้ก่อกำเนิดไม่ใช้แล้ว หรือ ที่ไม่ประสงค์ใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม หรือที่ไม่ได้คุณภาพ หรือยังไม่ได้ใช้งาน กากอุตสาหกรรมอาจมีลักษณะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับประเภทของกระบวนการผลิตและชนิดของอุตสาหกรรมนั้น ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ของเสียอันตราย (Hazardous Waste)

– วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อน สารอันตราย หรือมีลักษณะและคุณสมบัติที่เป็นอันตราย เช่น สารเคมีที่เป็นพิษและเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย หรือสารเคมีใช้แล้ว สีหมดอายุ สารกัดกร่อน สารไวไฟ สารพิษต่างๆ กากเหล่านี้ต้องได้รับการจัดการและกำจัดอย่างระมัดระวังภายใต้กฎหมายและมาตรฐานที่เคร่งครัด

  1. ของเสียไม่อันตราย (Non-Hazardous Waste)

– วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อน สารอันตราย หรือมีลักษณะและคุณสมบัติที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ผ้า เหล็ก กระดาษ กากผลไม้ หรือวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

โดยของเสียบางชนิดที่จะระบุได้ว่าเป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตราย เมื่อพิจารณาจากการปนเปื้อน เช่น กากตะกอน หรือ ฝุ่นจากระบบบำบัด หากนำกากที่ไม่อันตรายมาปนกับกากที่อันตรายจะเป็นกากอันตรายทันที

การจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องมีความสำคัญ เพราะหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม กากเหล่านี้อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน และน้ำใต้ดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนและสภาพแวดล้อม

Process for treatment and disposal of industrial waste

ขั้นตอนการบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม

เป็นกระบวนการที่สำคัญในการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ โดยทั่วไป โดยแบ่งออกเป็นแต่ละขั้นตอนดังนี้

It is an important process to prevent and reduce impacts on the environment and human health. In general, it is divided into each step as follows:

01

1. การคัดแยกและประเมินประเภทของกาก

ผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมจะต้องทำการคัดแยกและประเมินกากที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เพื่อแยกประเภทกากอุตสาหกรรมว่าเป็นกากที่ไม่เป็นอันตรายหรือกากที่เป็นอันตราย การคัดแยกนี้ช่วยในการกำหนดวิธีการบำบัดและกำจัดที่เหมาะสม รวมถึงป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น

02

2. การเก็บรวบรวมและขนส่ง

โดยผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า WG ( WASTE GENERATOR) ต้องทำการคัดแยกและรวบรวมกากอุตสาหกรรมให้อยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการรั่วไหลเพื่อขนส่งไปสถานที่บำบัดหรือกำจัดกากอุตสาหกรรม ให้ถูกต้องตามกฎหมายและรายงานการกำจัดและทำการขออนุญาตการกำจัดหรือบำบัดจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

03

3.การบำบัดกากอุตสาหกรรม

ขึ้นอยู่กับประเภทของกากอุตสาหกรรม โดยสามารถแบ่งออกได้หลายวิธีได้แก่

การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment)

การแยกหรือแปรรูปกากโดยใช้เทคนิคทางกายภาพ เช่น การกรอง การตกตะกอน การแยกของแข็งออกจากของเหลว 

การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment)

ใช้สารเคมีเพื่อทำปฏิกิริยากับกากอุตสาหกรรมเพื่อทำให้สารอันตรายกลายเป็นสารที่ไม่มีอันตรายหรือเปลี่ยนรูปแบบของสารปนเปื้อน หรือเป็นการเพื่อลดพิษเช่น การใช้กรดหรือด่าง การตกตะกอนทางเคมี หรือการออกซิเดชัน

การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)

ใช้จุลินทรีย์หรือกระบวนการทางชีวภาพในการย่อยสลายสารปนเปื้อน เช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยแบคทีเรีย หรือการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน หรือการหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์

การกำจัดกากอุตสาหกรรม

หากไม่สามารถบำบัดกากอุตสาหกรรมตามขั้นตอนข้างต้นได้ กากที่เหลือจะต้องถูกกำจัดอย่างเหมาะสม วิธีการกำจัดทั่วไปได้แก่

  • การฝังกลบ (Landfilling): การนำกากอุตสาหกรรมไปฝังกลบในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยพื้นที่ฝังกลบต้องมีระบบป้องกันการรั่วไหลและปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน
  • การเผาทำลาย (Incineration): การเผากากอุตสาหกรรมในเตาเผาที่มีการควบคุมอุณหภูมิสูง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของกากอุตสาหกรรม และอาจนำพลังงานที่เกิดจากการเผากลับมาใช้ประโยชน์ได้
  • การผลิตเชื้อเพลิง (Refuse-Derived Fuel, RDF): กากบางประเภทสามารถนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตพลังงานได้ โดยการเผาในเตาเผาพลังงาน (Energy from Waste) ที่มีการควบคุมมลพิษ

หากส่งให้ผู้อื่นจำกัด waste transporter (wt) -> รับกากจาก WG -> ส่งให้ทาง wp (waste processor) ในการบำบัดกำจัดบำบัดกากอุตสาหกรรมต่อไป  และปฎิบัติตามมาตรการและกฎหมาย โดยปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง